My Carlendar♥

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

10 สนามบินที่น่ากลัวที่สุดในโลก

อันดับ 10 สนามบิน  JUANCHO E. YRAUSQUIN บนเกาะ SABA ใน NETHERLANDS ANTILLES

สนามบิน JUANCHO E. YRAUSQUIN บนเกาะ SABA ใน NETHERLANDS ANTILLE

สนามบิน JUANCHO E. YRAUSQUIN บนเกาะ SABA ใน NETHERLANDS ANTILLE 


   
  ถึงแม้ว่าจะยังไม่เคยเกิดโศกนาฎกรรมร้ายแรงที่สนามบินบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการบินต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ที่นี่แหล่ะคือ "หนึ่งในสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก"

     เพราะนักบินจะต้องรับมือกับลมกรรโชกในขณะเตรียมแลนดิ้งลงบนรันเวย์ ที่มีความยาวเพียง 400 เมตรเท่านั้น อีกจุดที่ถือว่าอันตรายสุดๆ คือ "ตำแหน่ง" ของรันเวย์ที่ด้านหนึ่งเป็นภูเขาสูง ส่วนอีกด้านเป็นหน้าผา (ปลายสุดของรันเวย์ทั้ง 2 ข้าง เป็นหน้าผา) ซึ่งถ้ามีอะไรผิดพลาดไม่ว่าจะเป็นตอนขึ้นหรือตอนลงก็จะตกลงไปในทะเลทันที

     ปัจจุบันนี้ มีเพียงสายการบิน  Windward Islands Airways  ซึ่งเป็นสายการบินท้องถิ่นเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ที่เปิดบินบริการวันละ 1 เที่ยวบนสนามบินแห่งนี้



อันดับ 9. สนามบินนานาชาติ MADEIRA  (FUNCHAL) บนเกาะ MADEIRA ประเทศโปรตุเกส


สนามบินนานาชาติ MADEIRA (FUNCHAL) บนเกาะ MADEIRA ประเทศโปรตุเกส

สนามบินนานาชาติ MADEIRA (FUNCHAL) บนเกาะ MADEIRA ประเทศโปรตุเกส 


    
ช่วงแรกๆ ที่เปิดบริการ สนามบินแห่งนี้มีรันเวย์ยาวเพียง 1,600 เมตร แถมยังโอบล้อมด้วยภูเขาสูง และท้องทะเล ทำให้การลงจอดเป็นไปได้ยาก มีเพียงนักบินที่มีประสบการณ์สูงเท่านั้นที่จะสามารถนำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินแห่งนี้ได้

     แต่หลังเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงกับสายการบิน TAP Air Portugal เที่ยวบิน 425 เมื่อปี ค.ศ. 1977 หลังจากนักบินพยายามนำเครื่องลงจอด 2 ครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุในความพยายามลงจอดครั้งที่ 3 เนื่องจากรันเวย์สั้นเกินไป (สำหรับเครื่องบิน Boeing 727-200) ประกอบกับมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี เครื่องบินจึงไถลออกนอกรันเวย์ และชนเข้ากับสะพานจนขาด 2 ท่อนทำให้เกิดไฟลุกท่วม เป็นเหตุให้ผู้โดยสารกว่า 100 คนเสียชีวิต

     สนามบินแห่งนี้จึงได้ทุ่มงบประมาณในการขยายรันเวย์ให้มีความยาวมากขึ้นเป็นสองเท่า โดยทำส่วนต่อขยายให้ยื่นออกไปในทะเล โดยมีเสา 180 ต้นรองรับน้ำหนัก จนกระทั่งได้รับรางวัล "Outstanding Structures Award" จาก International Association for Bridge and Structural Engineering (IABSE) ซึ่งเปรียบเหมือนรางวัล "ออสการ์" ของวงการวิศวกรรมที่โปรตุเกส ในเวลาต่อมา

     อย่างไรก็ดี นักบินที่จะนำเครื่องบินลงจอดบนสนามบินแห่งนี้ จำเป็นต้องได้รับการเทรนนิ่งเป็นพิเศษ เพราะการลงจอดที่สนามบินแห่งนี้ นักบินจะต้องหันหัวเครื่องบินไปที่ภูเขา และเอียงเครื่องบินไปทางด้านขวาในนาทีสุดท้าย เพื่อจะตั้งลำให้อยู่ในแนวเดียวกับรันเวย์ที่จะปรากฏให้เห็นตรงหน้าชนิดที่เรียกว่า แทบไม่ทันตั้งตัวเลยทีเดียว



อันดับ 8. สนามบินนานาชาติ JOHN F. KENNEDY  ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา


สนามบินนานาชาติ JOHN F. KENNEDY ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา 


     สนามบินแห่งนี้ติดโผด้านความน่ากลัวตรงที่ นักบินจะต้องคอยระมัดระวังเครื่องบินลำอื่นๆ ที่กำลังบินขึ้น-ลงยังสนามบิน LaGuardia และ สนามบิน Newark ที่อยู่ใกล้ๆ กันระหว่างนำเครื่องลงจอด ในขณะที่ปลายด้านหนึ่งของรันเวย์สิ้นสุดลงที่ผืนน้ำของ  Jamaica Bay



อันดับ 7. สนามบินนานาชาติ TONCONTIN ใน TEGUCIGALPA ประเทศฮอนดูรัส

สนามบินนานาชาติ TONCONTIN ใน TEGUCIGALPA ประเทศฮอนดูรัส 



    
สนามบินแห่งนี้มีรันเวย์ยาวเพียง 1,863  เมตร นับเป็นหนึ่งในสนามบินนานาชาติที่มีรันเวย์สั้นที่สุดในโลก และยังมีภูเขาล้อมรอบ ในการนำเครื่องบินลงจอดนักบินจะต้องบังคับเครื่องบินให้บินเลี้ยวไปทางด้านซ้าย 45 องศา ก่อนที่เครื่องบินจะแตะพื้นรันเวย์เพียงไม่กี่นาที

     สนามบินแห่งนี้เคยเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดเพิ่งเกิดขึ้นกับเครื่องบินแอร์บัส เอ 320 ของสายการบิน Grupo TACA ที่บินมาจาก ซาน ซัลวาดอร์  เมื่อเดือนพ.ค. ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นความผิดพลาดระหว่างการนำเครื่องบินลงจอดของนักบิน
 

 
อันดับ 6. สนามบิน BARRA ประเทศสก๊อตแลนด์


สนามบิน BARRA ประเทศสก๊อตแลนด์

สนามบิน BARRA ประเทศสก๊อตแลนด์ 

     สนามบินแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะ Barra ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ  ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลของประเทศสกอตแลนด์ ที่นี่นับเป็นหนึ่งในสนามบินเพียง 2 แห่งในโลก ที่ใช้ "ชายหาด" เป็นรันเวย์ (อีกแห่งอยู่ที่เกาะ Fraser Island ประเทศออสเตรเลีย)

     และเนื่องจากเวลาน้ำขึ้นรันเวย์ของสนามบินแห่งนี้จะหายไป ดังนั้นตารางบินของสนามบินแห่งนี้จะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่น้ำขึ้นน้ำลง และถ้ามีเหตุฉุกเฉินให้ต้องนำเครื่องลงจอดในเวลากลางคืน ก็จะใช้วิธีนำรถยนต์มาจอดเรียง และเปิดไฟ เพื่อให้เกิดแสงสะท้อนบริเวณแผ่นโลหะที่ถูกเรียงไว้บริเวณชายหาด เป็นการนำทางให้นักบินสามารถนำเครื่องบินลงจอดได้อย่างปลอดภัย

     อย่างไรก็ดี ชายหาดแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ให้เครื่องบินขึ้น-ลงเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเก็บหอยอันเลื่องชื่อ โดยผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวหรือเก็บหอยบริเวณชายหาดแห่งนี้ จะต้องคอยสังเกตสัญญาณเตือน กันเอาเอง เมื่อใดก็ตามที่ถุงลมลอยขึ้น แสดงว่าในขณะนั้นสนามบินกำลังจะเปิดให้เครื่องบินขึ้น-ลง ซึ่งผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นจะต้องรีบออกจากชายหาดทันที



อันดับที่ 5 รันเวย์จอดเครื่องบิน  MATEKANE ที่ประเทศเลโซโธ

รันเวย์จอดเครื่องบิน MATEKANE ที่ประเทศเลโซโธ

   
  ภาพที่เห็น คือ รันเวย์ที่มีความยาวเพียง 400 เมตร และมีไว้สำหรับการบินบริการทางการแพทย์โดยเฉพาะ การนำเครื่องขึ้นที่รันเวย์แห่งนี้นับเป็นประสบการณ์ขนหัวลุกของผู้โดยสาร เพราะเครื่องบินจะหล่นผลุบลงไปที่หน้าผาซึ่งมีความลึก 600 เมตร ก่อนที่จะเริ่มทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าอีกครั้ง ซึ่งนักบิน Tom Claytor เปิดเผยว่า การนำเครื่องขึ้นวิธีนี้จะปลอดภัยกว่าการบินขึ้นโดยตรงเหนือหน้าผา



อันดับที่ 4 สนามบิน GIBRALTAR ที่ GIBRALTAR ใน EUROPE


สนามบิน GIBRALTAR ที่ GIBRALTAR ใน EUROPE

สนามบิน GIBRALTAR ที่ GIBRALTAR ใน EUROPE  


     สนามบินแห่งนี้อยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก และอ่าว Algeciras ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตก รันเวย์ของสนามบินแห่งนี้สร้างจากกรวดผสมน้ำมันดิน มีความยาวไม่ถึง 2,000 เมตร นักบินจำเป็นต้องรู้ตำแหน่งในการลงจอดที่แน่นอนและแม่นยำ และต้องมีความพร้อมที่จะเบรคทันทีที่ล้อแตะรันเวย์ เพราะไม่อย่างนั้นมีหวังได้ลงไปจอดในทะเลแน่ๆ

     ที่น่ากลัวอีกอย่างคือรันเวย์แห่งนี้มีถนนตัดผ่าน เวลามีเครื่องบินขึ้น-ลง ที่กั้นถนนก็จะพับลงมากั้นไม่ให้รถผ่าน (คล้ายเวลาวิ่งข้ามทางรถไฟในบ้านเรา)



อันดับที่ 3 สนามบิน RAEGAN NATIONAL AIRPORT ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา


สนามบิน RAEGAN NATIONAL AIRPORT ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริก 

     ไม่น่าเชื่อเลยว่าสนามบินในอเมริกาจะติดโผ "น่ากลัวที่สุดในโลก" ถึง 2 แห่ง โดยสนามบินเรแกนแห่งนี้ ตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่คาบเกี่ยวของเขต "ห้ามบิน" ถึง 2 แห่งด้วยกัน นั่นก็คือ น่านฟ้าเหนือ เพนตาก้อน และสำนักงานใหญ่ของซีไอเอ ที่ห้ามไม่ให้เครื่องบินใดๆ บินผ่านโดยเด็ดขาด นักบินจึงจำเป็นต้องบินเลี่ยงพื้นที่ดังกล่าว ก่อนที่จะวกกลับมาลงจอดในสนามบิน

     ส่วนการนำเครื่องบินๆ ขึ้น ก็ยุ่งยากไม่แพ้กัน เพราะนักบินจำเป็นต้องไต่ระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังต้องเบนเครื่องบินไปทางด้านซ้าย เพื่อไม่ให้เครื่องบินๆ ชนทำเนียบขาวอีกด้วย 



อันดับ 2 สนามบินนานาชาติ PRINCESS JULIANA ใน  ST. MAARTEN, CARIBBEAN

สนามบินนานาชาติ PRINCESS JULIANA ใน ST. MAARTEN, CARIBBEAN 

     สนามบินแห่งนี้มีรันเวย์ยาวเพียง 2,000 เมตร ถึงแม้ว่าเครื่องบินที่เหมาะสมในการนำมาลงจอดที่สนามบินแห่งนี้ คือ เครื่องบินเจ็ทขนาดกลาง แต่ก็มีเครื่องบินขนาดใหญ่จากยุโรป เช่น โบอิ้ง 747 และแอร์บัส A340 มาลงจอดที่สนามบินแห่งนี้เช่นกัน

     ในการนำเครื่องบินขนาดใหญ่ลงจอด นักบินจะต้องบังคับเครื่องบินเหล่านี้ให้บินในระดับต่ำอย่างเหลือเชื่อเหนือชายหาด Maho ถึงกระนั้นก็ตาม ยังไม่เคยมีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดภายในสนามบินแห่งนี้แต่อย่างใด


อันดับ 1 สนามบิน PARO ที่ประเทศภูฎาน

สนามบิน PARO ที่ประเทศภูฎาน 

     หมู่บ้าน Paro ถูกโอบล้อมด้วยยอดเขาหิมาลายันที่มีความสูง 5,000 เมตร ด้วยเหตุนี้ สนามบินในเมือง Paro จึงนับเป็นสนามบินที่มีความท้าทายในการนำเครื่องลงจอดมากที่สุดในโลก และมีนักบินเพียง 8 คนในโลกเท่านั้น ที่มีคุณสมบัติในการนำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินแห่งนี้ (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
 
     สนามบินแห่งนี้มีรันเวย์เดียว เปิดบริการตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเท่านั้น ปัจจุบัน มีเพียงสายการบิน Druk Air  ซึ่งเป็นสายการบินท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว ที่บินบริการบนสนามบินแห่งนี้


ที่มา : http://www.bsnnews.com/ContentDetail.asp?ContentID=8619

United Nations - UN


        สหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (United Nations - UN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นองค์การระหว่างประเทศที่กำเนิดขึ้นเป็นองค์การที่สองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ต่อจากสันนิบาตชาติ ปัจจุบันสหประชาชาติมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 192 ประเทศ (เกือบทุกประเทศในโลก) จุดประสงค์คือการนำทุกชาติทั่วโลกมาทำงานร่วมกันเพื่อสันติภาพและการพัฒนาโดยอยู่บนหลักพื้นฐานของความยุติธรรม ศักดิ์ศรีของมนุษย์ และความกินดีอยู่ดีของทุกคน นอกจากนี้ยังให้โอกาสประเทศต่าง ๆ สร้างดุลแห่งการพึ่งพาอาศัยกันและรักษาผลประโยชน์ชาติในกรณีที่เกิดปัญหาระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มนุษยธรรม ให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชน และเป็นศูนย์กลางในการร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ
        จากจุดเริ่มต้นที่สหประชาชาติกำเนิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองโดยฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงคราม ทำให้โครงสร้างขององค์การสะท้อนถึงสภาวะในขณะที่ก่อตั้ง สหประชาชาติมีสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงอยู่ 5 ประเทศ อันประกอบด้วย สาธารณรัฐประชาชนจีน (แทนที่สาธารณรัฐจีน) ฝรั่งเศส รัสเซีย (แทนที่สหภาพโซเวียต) สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา สมาชิกถาวรทั้ง 5 ชาติมีอำนาจยับยั้งในมติใด ๆ ก็ตามขององค์การความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอมีผลกระทบต่อการตอบสนองและการตัดสินใจของสหประชาชาติ ความตึงเครียดในสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตส่งผลต่อการดำเนินงานของ
        องค์การในช่วง 45 ปีแรกหลังการก่อตั้ง เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองผ่านพ้นไป การปลดปล่อยอาณานิคมในทวีปแอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง ทำให้เกิดความท้าทายใหม่ ๆ ทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
        ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 6 องค์กรหลัก ได้แก่ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ สำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกเช่น องค์การอนามัยโลก ยูเนสโก และยูนิเซฟ เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มักเป็นที่รู้จักและปรากฏตัวต่อสาธารณชนคือเลขาธิการสหประชาชาติ ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งนี้ คือ นายปัน กี มุน ชาวเกาหลีใต้ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ต่อจากโคฟี อันนัน
ภูมิหลัง
        ก่อนที่สหประชาชาติจะถือกำเนิดขึ้น มีความพยายามรวมกลุ่มกันของชาติต่าง ๆ ทันทีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลงโดยใช้ชื่อว่าสันนิบาตชาติซึ่งเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาแวร์ซาย เป็นเพราะประชาชนจำนวนมากในฝรั่งเศส แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าองค์กรโลกที่ประกอบด้วยชาติต่าง ๆ จะสามารถรักษาสันติภาพและป้องกันความน่าสะพรึงกลัวของสงครามอย่างที่เกิดในยุโรปช่วงปี พ.ศ. 2457-2461เบื้องต้นสันนิบาตชาติมีสมาชิก 42 ประเทศโดยมีประเทศที่ไม่ได้อยู่ในยุโรปถึง 26 ประเทศ จุดหมายหลักของสันนิบาตชาติมี 2 ประการ คือ พยายามธำรงรักษาสันติภาพ แก้ปัญหากรณีพิพาทต่าง ๆ โดยอาศัยการเจรจาไกล่เกลี่ยและอาจใช้วิธีคว่ำบาตรหรือกำลังทหารถ้าจำเป็น กล่าวอีกนัยหนึ่งว่าป้องกันสมาชิกจากการรุกราน ประการที่สองคือส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรฐกิจและสังคม แต่การอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่สองแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของสันนิบาตชาติซึ่งไม่มีกำลังทหารเป็นของตนเอง ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิก ขณะที่ประเทศสมาชิกเองก็ไม่เต็มใจที่จะใช้มาตรการต่าง ๆ นอกจากนี้ประเทศมหาอำนาจหลายชาติก็ไม่ได้ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง สันนิบาตชาติจึงถูกล้มเลิกในปี พ.ศ. 2489

สำนักงานใหญ่

      อาคารสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ก่อสร้างขึ้นบนที่ดินใกล้แม่น้ำอีสต์ในนครนิวยอร์ก เมื่อพ.ศ. 2492-2493 บริจาคโดยจอห์น ดี. รอกกีเฟลเลอร์ จูเนียร์ ด้วยมูลค่า 8.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และออกแบบโดยออสการ์ นีไมเออร์ สถาปนิกชาวบราซิล สำนักงานใหญ่สหประชาชาติเปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2494 นอกจากนี้ยังมีสำนักงานตัวแทนที่สำคัญตั้งอยู่ในนครเจนีวา นครเฮก กรุงเวียนนา กรุงโคเปนเฮเกน ฯลฯ
        สหประชาชาติมีธง ที่ทำการไปรษณีย์ และดวงตราไปรษณียากรของตนเอง ภาษาทางการที่ใช้มีอยู่ 6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย จีน และภาษาอาหรับ(เพิ่มมาในปี พ.ศ. 2516) ส่วนคณะมนตรีนั้นใช้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติจะประชุมกันที่สมัชชาใหญ่ซึ่งอาจเปรียบได้กับรัฐสภาของโลก ไม่ว่าประเทศจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก ร่ำรวยหรือยากจน ต่างมีสิทธิออกเสียงได้เพียงเสียงเดียว แม้ว่าคำตัดสินของสมัชชาใหญ่มิได้ถือเป็นข้อผูกมัดแต่ก็เป็นมติที่มีน้ำหนักเท่ากับเป็นความเห็นของรัฐบาลโลก
ประวัติ
        ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) เริ่มมีแนวคิดก่อตั้งสหประชาชาติในระหว่างการประชุมของฝ่ายพันธมิตร โดยมีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อ แฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และวินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ลงนามในกฎบัตรแอตแลนติก ทั้งสองเป็นผู้เริ่มใช้คำว่า สหประชาชาติ (United Nations) และใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) หลังจาก 26 ประเทศลงนามในปฏิญญาสหประชาชาติ จากนั้นฝ่ายพันธมิตรจึงเรียกกองกำลังที่ร่วมมือกันต่อต้านเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นว่า "United Nations Fighting Forces"
        วันที่ 27 สิงหาคม - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ตัวแทนจากฝรั่งเศส สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการก่อตั้งสหประชาติที่ดัมบาตันโอกส์ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. การประชุมครั้งนั้นและต่อ ๆ มา ทำให้เกิดรากฐานความร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่สันติภาพ ความมั่นคง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม โดยแผนเหล่านี้ได้ผ่านการถกเถียงอภิปรายจากรัฐบาลและประชาชนจากทั่วโลก
        เมื่อใกล้สิ้นสุดสงคราม การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศ (United Nations Conference on International Organization -- UNCIO) เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ที่นครซานฟรานซิสโก ตัวแทนจาก 50 ประเทศได้ลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ยกเว้นโปแลนด์ที่ไม่สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมได้แต่ได้รับการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดั้งเดิม รวมเป็น 51 ประเทศ แม้สันนิบาตชาติจะถูกล้มเลิกไป แต่อุดมการณ์ส่วนใหญ่และโครงสร้างบางประการได้ถูกกำหนดไว้ในกฎบัตรโดยได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับโลกใหม่ที่ซับซ้อนมากขึ้น หลังจากกฎบัตรผ่านการลงนามจากสมาชิก สหประชาชาติจึงได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อกฏบัตรมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945)
        เดิมสหประชาชาติใช้ชื่อเต็มในภาษาอังกฤษว่า United Nations Organization หรือ UNO แต่มักถูกเรียกว่า United Nations หรือ UN นับจากทศวรรษ 1950
ภารกิจ
-รักษาสันติภาพและความมั่นคง
        ภารกิจหลักของสหประชาชาติคือการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ หน้าที่ของสหประชาชาติคือให้คณะมนตรีความมั่นคงเข้าไปแทรกแซงโดยเปิดการเจรจาระหว่างคู่กรณีเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงระงับความขัดแย้งอย่างสันติ ระหว่างการเจรจาคณะมนตรีความมั่นคงจะพิจารณาว่าความขัดแย้งดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลกหรือไม่ และอาจเสนอแนะแนวทางต่าง ๆ เพื่อหาทางออกหากการเจรจาไม่เป็นผลและเกิดการรุกรานด้วยกองกำลังติดอาวุธ คณะมนตรีความมั่นคงมีอำนาจบีบบังคับด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งทางการทูต เศรษฐกิจ และการแทรกแซงทางทหาร เพื่อให้การปะทะกันยุติลง หลังมีข้อตกลงหยุดยิง อาจมีการส่งผู้รักษาสันติภาพเข้าไปยังพื้นที่ประเทศที่ขัดแย้งกันในกรณีที่ประเทศดังกล่าวยินยอม บางกรณีคณะมนตรีความมั่นคงอาจให้กำลังรบของประเทศสมาชิกเข้าแทรกแซงแต่ไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชาของสหประชาชาติ
-สิทธิมนุษยชน
        เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง สหประชาชาติจึงได้จัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2491 โดยมีจุดมุ่งหมายปกป้องพลเมืองให้รอดพ้นจากการถูกรังแก
        ปฏิญญาสากลระบุว่า "สิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก" ประเทศที่ลงนามในปฏิญญานี้มีพันธะที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยให้สิทธิแก่สหประชาชาติในการควบคุมตรวจสอบว่า รัฐบาลของแต่ละประเทศได้เคารพในสิทธิมนุษยชนของพลเมืองหรือไม่
        ปฏิญญาสากลกล่าวว่า ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพ ไม่ควรถูกเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเชื้อชาติ ภาษา เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ความร่ำรวยหรือทรัพย์สิน มีอิสรภาพจากการตกเป็นทาส จากการถูกทรมาน ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน มีอิสรภาพและสิทธิที่จะได้การพิจารณาคดีในศาลอย่างยุติธรรม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การนับถือศาสนา และการแสดงออก สิทธิที่ได้รับการศึกษา มีมาตรฐานการครองชีพอย่างเพียงพอ รวมทั้งการมีสุขภาพอนามัยดี มีที่อยู่อาศัยและอาหารเพียงพอ มีสิทธิในการทำงาน จัดตั้ง และเข้าร่วมในสหภาพแรงงาน
สมาชิก



        ปัจจุบัน (มีนาคม 2550) สหประชาชาติมีสมาชิก 192 ประเทศ ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก เช่น สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) หลังจากโอนที่นั่งให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อ พ.ศ. 2514 สมาชิกล่าสุดคือประเทศมอนเตเนโกร เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549

ระบบสหประชาชาติ
  • สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
  • คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
  • คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
  • คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
  • คณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ
  • สำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ
  • ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
องค์กร กองทุน หน่วยงาน
        องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( Food and Agriculture Organization - FAO) เป็นองค์กรชำนาญพิเศษที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2488 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐาน การดำรงชีวิตและการโภชนาการ ปรับปรุงให้มีการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และยกระดับ ความเป็นอยู่ของชาวชนบทให้ดีขึ้น การก่อตั้งในช่วงแรกมีสมาชิก 42 ประเทศ และเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2490 ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 49 ปัจจุบัน FAO มีสมาชิกทั้งสิ้น 183 ประเทศ และ 1 องค์กร และยังคงมีประเทศที่ขอเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบัน Mr.Jacques Diuof ชาวเซเนกัล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ FAO มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี
        นอกจากนี้ยังมีสำนักงานประจำอยู่ในภูมิภาคต่างๆของโลกอีก 5 แห่ง ได้แก่ (1) Afica (RAF) ตั้งอยู่ที่ Accra,Ghana (2) Asia and thePacific (RAP) ตั้งอยู่ที่ Bangkok ,Thailand (3) Europe (RE U) ตั้งอยู่ที่ Rome,Italy (4) Latin America and the Caribbran (RLC) ตั้งอยู่ที่ Santiago ,Chili (5) Near East (RNE) ตั้งอยู่ที่ Cairo , Egypt
        องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Civil Aviation Organization - ICAO) เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวางระเบียบข้อบังคับ สำหรับกิจกรรมการบินระหว่างประเทศระหว่างชาติ เป็นหน่วยงานชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ โครงการเร่งพัฒนาการบินพลเรือนนี้ เริ่มในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการจัดตั้งคณะกรรมการเดินอากาศระหว่างประเทศ (International commission for Air Navigation - ICAN) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1947
        องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization - ILO)
        การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (UNCTAD - United Nations Conference on Trade and Development) ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2507 เพื่อเป็นองค์กรถาวรระหว่างรัฐบาล ที่เป็นเครื่องมือ;หลักของสหประชาชาติที่จัดการด้านการค้า การลงทุน และการพัฒนาโดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า การลงทุน และการพัฒนา และช่วยเหลือประเทศเหล่านั้นในการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก ในพื้นฐานแห่งความเท่าเทียม ปัจจุบัน อังค์ถัดมีประเทศสมาชิก 191 ประเทศ และมีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อังค์ถัดมีเจ้าหน้าที่ประจำ 400 คนและมีงบประมาณรายปีประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีงบเพิ่มเติมช่วยเหลือด้านเทคนิคอีก 25 ล้านเหรียญสหรัฐ เลขาธิการคนปัจจุบัน คือ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548
        UNDCP
        สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program - UNDP) มีสำนักงานใหญ่ที่ เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เป็นองค์การพหุภาคี เพื่อช่วยเหลือด้านการพัฒนา และเป็นหน่วยงานสำคัญในการประสานงานความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาของสหประชาชาติ โดยเริ่มจากการขยายการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ แก่ประเทศกำลังพัฒนา ด้วยหลักการดำเนินการแบบสากลและเป็นกลางในทางการเมือง ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ๆสำคัญๆ มีสมาชิก 170 ประเทศ เพื่อร่วมมือในการวางแผน และดำเนินโครงการในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม และในปีนี้มหามงคลอย่างยิ่งที่
        องค์การสิ่งแวดล้อมโลก (United Nations Environment Programme - UNEP) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ก่อตั้งเมื่อปี 1972 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพื่อสำรวจ และประเมินแนวโน้มที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ตลอดจนเสริมสร้างการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างชาญฉลาด ผ่านสถาบันและองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการัฒนาที่ยั่งยืน
        ยูเนสโก หรือ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization - UNESCO) องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นองค์การชำนัญพิเศษองค์การหนึ่งของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 และต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสมาชิกก่อตั้ง 20 ประเทศ ได้ร่วมมือกันให้สัตยาบันธรรมนูญองค์การ ซึ่งเริ่มด้วยข้อความที่ว่า "สงครามเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ ดังนั้นจึงต้องสร้างความหวงแหนสันติภาพ ให้เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ด้วย" นอกจากนี้ ธรรมนูญยูเนสโกยังบ่งชี้ไว้ด้วยว่า สันติภาพที่เกิดจากการตกลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่แท้จริงและยืนนาน จากประเทศชาติต่างๆ ในโลก สันติภาพจะต้องวางรากฐานอยู่บนความร่วมมือทางภูมิปัญญา และจิตสำนึกของมนุษยชาติ. ดังนั้นองค์การยูเนสโกจึงมุ่งเน้นการส่งเสริมสันติภาพ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติ ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เพื่อให้ทั่วโลกเคารพในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิ และเสรีภาพ ที่มนุษย์พึงมี โดยไม่ถือเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา ตามกฎบัตรสหประชาชาติ. ยูเนสโกมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
        ปัจจุบัน (มีนาคม พ.ศ. 2548) ยูเนสโกมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 191 ประเทศ. ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐสมาชิกขององค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 (ลำดับที่ 49).โดยปกติ ยูเนสโกจะใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาทางการ แต่ในระหว่างการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก และการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก จะใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องถึง 6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเชีย อาหรับ สเปน และจีน
        การดำเนินงานของยูเนสโกนั้น จะปรากฏในรูปของการประชุมสมัยสามัญ ซึ่งมีทุกๆ 2 ปี. โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม จำนวน 58 คน ที่เลือกมาจากผู้แทนของประเทศสมาชิก. กรรมการจะอยู่ในวาระ 4 ปี โดยจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการใหม่ ครึ่งหนึ่งทุก 2 ปี. ผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดขององค์การ จะอยู่ในวาระ 6 ปี.
        ยูเนสโก ได้จัดให้มีสำนักงานส่วนภูมิภาค และสำนักงานย่อยประจำพื้นที่ เพื่อให้ยูเนสโก ประสานงานกับประเทศต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิด แต่ละประเทศสมาชิกจะจัดให้มีสำนักผู้แทนถาวรประจำยูเนสโก และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโกของประเทศนั้นๆ เพื่อดำเนินงานในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานของยูเนสโกโดยเฉพาะ
        กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Population Fund) เป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้านการให้ความช่วยเหลือ แก่ประเทศที่กำลังพัฒนาในการแก้ปัญหาด้านประชากร ก่อตั้งขึ้นในปี 1969 (พ.ศ. 2512) ภายใต้ชื่อ "กองทุนสหประชาชาติเพื่อกิจการด้านประชากร" (United Nations Fund for Population Activities) ต่อมาในปี 1987 (พ.ศ. 2530) สภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติได้มีมติเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ โดยยังคงใช้ชื่อย่อเดิม และถือให้วันที่ 11 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันประชากรโลก
        UNHCR
        UN-HABITAT
        UN Water
        ยูนิเซฟ หรือ กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children's Fund - UNICEF) เป็นหน่วยงานของสหประชาชาติเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม, พัฒนาการ, สุขภาพรวมถึงความเป็นอยู่ของเด็กและแม่ในประเทศกำลังพัฒนา ก่อตั้งโดยสมัชชาสามัญแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ด้วยชื่อในขณะนั้นว่า United Nations International Children's Emergency Fund หรือ กองทุนฉุกเฉินสำหรับเด็กแห่งสหประชาชาติ
        UNRWA
        สหภาพสากลไปรษณีย์ ( Universal Postal Union - UPU) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ทำหน้าที่ประสานงานนโยบายการไปรษณีย์ระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งประเทศสมาชิกแต่ละประเทศตกลงในนโยบายจัดการไปรษณีย์ภัณฑ์ระหว่างประเทศ
        ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 หลังจากได้จัดตั้งกรมไปรษณีย์และให้บริการประมาณสองปี ทำให้กรมไปรษณีย์สามารถให้บริการจดหมายระหว่างต่างประเทศได้ ซึ่งก่อนหน้านั้นจดหมายไปประเทศต้องส่งผ่านทางกงสุล เช่นกงสุลอังกฤษ หรือผ่านบริษัทเดินเรือของเอกชน ในโอกาสนี้กรมไปรษณีย์ก็ได้จัดพิมพ์แสตมป์ชุดที่สอง แทนแสตมป์ชุดที่หนึ่ง หรือชุดโสฬศ โดยเพิ่มชื่อประเทศและราคาบนดวงแสตมป์เป็นภาษาอังกฤษตามข้อบังคับของสหภาพสากลไปรษณีย์
        WFP
        องค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO) เป็นหน่วยงานระหว่างประเทศ ในสังกัดสหประชาชาติ ทำหน้าที่ดูแลประสานงานงานด้านสาธารณสุข. ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


ที่มา : http://th.wikipedia.org

19 ประเทศที่คนไทยไม่ต้องขอวีซ่า




กระทรวงต่างประเทศเผย คนไทยไม่ต้องขอวีซ่าใน 19 ประเทศ , อยู่ได้ 14-90 วันกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เผยคนไทยที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดา ไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา(วีซ่า) เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ จำนวน 19 ประเทศ โดยสามารถพำนักอยู่ได้ตั้งแต่14-90 วัน เอกสารเผยแพร่ ระบุว่ากรมการกงสุล ขอแจ้งสถานะล่าสุด ณ วันที่ 14 ม.ค. เกี่ยวกับ

การยกเว้นวีซ่า สำหรับคนไทยที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดาว่า ปัจจุปันไม่ต้องขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปต่างประเทศจำนวน 19 ประเทศประเทศที่พำนักอยู่ได้ 90 วันได้แก่ อาร์เจนตินา , บราซิล , ชิลี , เกาหลีใต้
และเปรู

ประเทศที่พำนักอยู่ได้ 30 วันได้แก่ ฮ่องกง , อินโดนีเซีย , ลาว , มาเก๊า , มอง
โกเลีย , มาเลเซีย , มัล ดีฟส์, รัสเซีย, สิงคโปร์,แอฟริกาใต้และเวียดนาม

ประเทศที่พำนักอยู่ได้ 21 วันได้แก่ ฟิลิปปินส์

ประเทศที่พำนักอยู่ได้ 15 วันได้แก่ บาห์เรน

ประเทศที่พำนักอยู่ได้ 14 วันได้แก่ บรูไนฯ


ที่มา : http://variety.teenee.com/foodforbrain/7011.html

วิธีถนอมสายตาจากใช้คอมเป็นเวลานาน




คอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่  6 ของมนุษย์ไปเสียแล้ ว(ปัจจัย 5 คือมือถือ) สำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกคนที่จ้องหน้าคอมเป็นเวลานานๆ จงระวังปัญหาเรื่องสายตาให้ดีๆ ไม่ต้องห่วงวันนี้มีสาระ.com มี วิธีถนอมสายตาสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์มาฝากทุกๆ ท่านมาอ่านกันเลย
1. นักท่องเน็ทควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในตำแหน่งที่ เหมาะสม โดยเฉพาะต้องมีแสงเพียงพอ และไม่สะท้อนแสงกับแสงภายนอกเช่นแสงจากพระอาทิตย์โดยตรง หรือแสงจากท้องฟ้า เพราะอาจการจ้องมองมากๆ ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับโรคทางสายตาได้ง่ายๆ และแสงที่สะท้อนมานั้นจะเข้าตาคุณเต็มๆ
2. หลังจากจ้องคอมเป็นเวลานานๆแล้วท่านควรพักสายตาทุกครั้งอย่างน้อย 5-10 นาทีทุกครั้ง ที่ทำงานต่อเนื่อง 1 – 2 ชั่วโมง หนังโป้ไม่หนีไปไหนหลอก ที่สำคัญ หยุด ! การใช้งานทุกครั้ง ที่รู้จักว่าสายตาล้า หรือมีอาการปวด
3. ปรับแสง ความสว่างของหน้าจอให้เหมาะสม ไม่จ้าเกินไป
4. หลีกเลี่ยงการใช้งานหน้า จอที่เบลอ ไม่คมชัด เพราะจะทำให้สายตามีปัญหาได้ (ควรรีบแก้ไข หรือส่งซ่อม)
หลีก เลี่ยงการใช้งานหน้าจอที่สีเพี้ยนถ้าจำเป็นต้องทำงานต่อเนื่อง อาจซือแว่นสายตา ป้องกันรังสี (เลนส์จะมีสีเหลือง) มาใส่จะดีมาก
ทิปเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ก็คงจะพอช่วยรักษาสายตาของท่านๆ  ให้มีปัญหาได้น้อยลงอย่างมาก เพื่อสุขภาพของนักท่องเน็ตทุกๆ คน


ที่มา : http://www.มีสาระ.com/

อาหารสำหรับเลือดกรุ๊ป A

โภชนาการเลือดกรุ๊ป A,โภชนาการเลือดกรุ๊ปเอ,อาหารเลือด กรุ๊ป A,อาหารเลือดกรุ๊ปเอ


โภชนาการเลือดกรุ๊ป A,โภชนาการเลือดกรุ๊ปเอ,อาหารเลือด กรุ๊ป A,อาหารเลือดกรุ๊ปเอ

คนที่มีเลือดกรุ๊ปเอควรหลีกเลี้ยงผลิตภัณฑ์พวกนมและเนื้อสัตว์ เพราะตามงานวิจัยและสถิติการแพทย์พบว่าคนที่มีเลือดกรุ๊ปเอ มักจะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งกระเพราะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็วที่ลิ้น มะเร็งสำหรับคนกรุ๊ปเลือดเอที่เป็นมาที่สุดคือมะเร็วกระเพราะอาหาร เพราะฉะนั้นถ้าหากท่านมีอาหารเกี่ยวกับกระเพราะ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ปวดท้องกระเพราะ อาเจียนเป็นเลือด ควรรีบปรึษาแพทย์ที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารโดยเร็ว

อาหารที่กรุ๊ปเลือดเอควรระวังคือ

1.ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนมทั้งหลายแหล่ ไม่ว่าจะเป็น นมสด โยเกิร์ต ฯลฯ
2.การปรุงอาหารที่ใช้น้ำมันเป็นอาหาร เช่น ทอด ผัด รวมทั้งย่างด้วย
3.อาหารที่มีโปรตีนมากเช่นเนื้อสัตว์

โภชนาการที่ดีของคนกรุ๊ปเลือดเอ

เหมาะกับอาหารแบบมังสวิรัติ จึงควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและมะเร็ง ระวังอาหารสำเร็จรูปเช่น ไส้กรอกและแฮม เพราะมีไนไตรท์ซึ่งกระตุ้นให้เกิดมะเร็งในกระเพาะ อาหารประเภทนม ถั่วแดง และอาหารที่มีแป้งสาลีมากเกินไปไม่เหมาะกับชาวกรุ๊ป A เพราะมีผลต่อระบบเผาผลาญ ระบบย่อยอาหารและชะลอการทำงานของอินซูลิน เพราะฉฯนทางที่ดีอาหารสำหรับกรุ๊เลือดเอควรบริโภคผัก เป็นส่วนใหญ่ ประมาณ 50-60 % ผลไม้ 15% พวกธัญพืช 20% และโปรตีนจากสัตว์อีกไม่เกิน 5%

ที่มา : http://www.มีสาระ.com/

108 วิธีมอบน้ำใจให้แก่ผู้อื่น


วิธีมอบน้ำใจให้แก่ผู้อื่น สามารถเริ่มต้นด้วยการมองและยิ้ม ต่อจากนั้นก็ใช้การทักทาย ฟัง และพูด น้ำใจสามารถส่งถึงกันได้ด้วยการเขียน และการกระทำ ทั้งต่อคนที่รู้จักกันแล้ว และที่ยังไม่รู้จักกัน ไม่ว่าเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ สามารถมอบน้ำใจให้แก่กันได้ทั้งสิ้น

โปรดทดลองใช้วิธีการ 108 วิธีในบทความนี้ มอบน้ำใจให้แก่บุคคลอื่น ท่านจะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เป็รที่รัก และชื่นชมของบุคคลอื่นเพิ่มขึ้น และโลกนี้จะน่าอยู่ น่าชื่นชมขึ้นอีกมากทีเดียว

มองและยิ้ม


  1. มองทุกคนที่พบกันด้วยสายตาที่เป็นมิตร อย่าคิดว่าคนอื่นจะประสงค์ร้ายต่อเราทั้งหมด แต่ก็ต้องระวังคนหลอกลวงไว้บ้าง
  2. ยิ้มให้ทุกคนที่พบกัน ยิ้มด้วยสายตา ยิ้มด้วยใบหน้า ยิ้มด้วยจิตใจ อย่าทำหน้าบึ้งหน้างอ ถ้าวันไหนอารมณ์ไม่ดี ลองมองดูหน้าตนเองในกระจกเงาบ้าง
  3. ทำความรู้จักกับคนที่ไม่รู้จัก โดยพยายามยิ้มให้และกล่าวคำทักทาย
  4. โบกมือส่งยิ้มให้เด็กๆ ในรถนักเรียนที่แล่นผ่านไป ยิ้มให้เด็กๆในรถข้างๆ หรือเด็กที่มองตาของท่านผ่านกระจกหลังของรถคันหน้าที่ติดไฟแดง
  5. มองคนในแง่ดี มองคนในแง่บวก พิจารณาว่า เขาทำอะไรด้วยความหวังดีอย่างไรบ้าง อย่ามองคนในแง่ร้าย หรือมองในแง่ลบ อย่าเพิ่งคิดว่าเขาจะทำความชั่ว ความเลวเสียทั้งหมด น่าจะมีความดีอยู่บ้าง หรือเขาอาจทำไปเพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดก็ได้
  6. มองว่าคนเราสามารถเป็นมิตรกันได้ แม้ว่าจะมีความคิดเห็นต่างกัน หรือมีความเชื่อต่างกัน มองว่าการกระทำบางอย่างอาจทำได้หลายวิธี ไม่จำเป็นว่ามีวิธีหนึ่งที่ถูกต้องแล้ว อีกวีจะผิด

    ทักทาย

  7. ทักทายกับคนอื่น เมื่อได้พบกัน ด้วยการกล่าวคำสวัสดี ยกมือไหว้ ยิ้ม หรือก้มหัว ตามความเหมาะสม พยายามเรียกชื่อของเขา เพราะทุกคนมีความภูมิใจในชื่อของตน ระวังอย่าเรียกชื่อผิดคน
  8. สนทนาทักทายกับเพื่อนร่วมงาน ถามไถ่ทุกข์สุข คุยเรื่องที่เขาสนใจ อย่านั่งใกล้กับใครโดยไม่พูดกัน

    ฟัง

  9. ตั้งใจฟังคนอื่นพูด ให้เวลาเขาพูด อย่าเพิ่งขัดคอ ขัดใจ อย่าพูดสอดแทรกขัดจังหวะ อย่าทักท้วงให้เขาเสียหน้า ต่อคนหมู่มาก
  10. รับฟังสิ่งที่เขากำลังทำ หรือที่เขากำลังสนใจ แล้วหาทางสนับสนุนสิ่งที่ดี รับฟังความทุกข์ของเขา แล้วหาทางช่วยแก้ปัญหา บรรเทาความทุกข์ รับฟังความสำเร็จและความสุขของเขา แล้วร่วมยินดีด้วย

    พูด

  11. ใช้คำพูดสี่คำให้ติดปาก คือ ขอบคุณ ขอโทษ ดี ช่วย กล่าวคำขอบคุณ เมื่อมีใครทำดีต่อตน ขอโทษเมื่อทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ ดี เมื่อผู้อื่นทำความดี และช่วย เมื่อต้องการให้ผู้อื่นช่วยเหลือ
  12. พูดด้วยคำสุภาพ ไพเราะ อ่อนหวานมีคำลงท้าย ครับ หรือ ค่ะ ตามความเหมาะสม ไม่ใช้คำหยาบคาย ดุด่าเสียดสี ขู่ตะคอก หรือพูดเหน็บแนม อย่าจี้จุดอ่อนให้ช้ำใจ หาเรื่องที่สนุกสนาน ตลกขบขันมาเล่าสู่กันฟังบ้าง ถ้าพูดตลกไม่เป็น ให้พยายามจดจำมุขตลกที่คนอื่นเล่าแล้วนำไปเล่าต่อ
  13. พูดชมเชยบุคคลอื่นเป็นประจำ เพื่อสร้างกำลังใจ อย่าเอาแต่ตำหนิต่อว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบุตร ภรรยา สามี และผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น ชมว่ามีความพยายามสูงมาก ทำงานได้ดี เอาใจใส่บ้านดี ทำงานรอบคอบดีมาก อย่าพูดแต่เรื่องของตนฝ่ายเดียว เพราะคู่สนทนาจะเบื่อหน่าย
  14. พูดถึงคนอื่น และหัวหน้าผู้บังคับบัญชาในด้านดีกับคนที่เขารู้จัก อย่านินทาว่าร้ายผู้บังคับบัญชากับผู้อื่น เพราะอาจจะมีคนเก็บไปรายงานให้ท่านฟังภายหลัง
  15. รู้จักขัดแย้งโดยไม่ให้เขาเสียน้ำใจ โดยใช้เทคนิค "ใช่...แต่..." เช่น "ที่คุณว่ามานั้นก็ถูกต้อง แต่อาจจะมีอีกวิธีหนึ่ง..." หรือ "ที่คุณคิดนั้นก็ใช่ แต่คนอื่นเขาอาจคิดอีกอย่างหนึ่งก็ได้กระมัง" หรือ "ของบางอย่างอาจจะมิใช่มีสีดำหรือสีขาว แต่อาจเป็นสีเทาที่จะว่าขาวก็ได้ ดำก็ได้" หรือ "วิธีที่ถูกต้องอาจะมีมากกว่าหนึ่งวิธีก็ได้" หรือ "ร้านก๋วยเตี๋ยวที่อร่อยอาจมีมากกวาหนึ่งร้านก็ได้"
  16. หาเรื่องพูดคุยกับคนที่ขาดเพื่อน คุยกับคนที่เข้ากับคนอื่นไม่ได้ เพราะเขาเป็นคนที่น่าสงสาร และต้องการความช่วยเหลือ
  17. พูดด้วยเสียงดังพอสมควร ไม่พูดแผ่วเบา หรือ ตะโกนให้ดังเกินไป การพูดด้วยการขึ้นเสียง ก่อให้เกิดความโมโห และนำสู่การทะเลาะวิวาท
  18. พูดคุยในสิ่งที่เขาสนใจ เช่น เรื่องเกี่ยวกับลูกของเขา หรือสิ่งที่เขามีความเชี่ยวชาญ เช่น เรื่องฟุตบอล กอล์ฟ ละครโทรทัศน์ หรือ หัวข้อข่าวที่เขาสนใจ ระวังไม่คุยคุ้ยเขี่ยสิ่งที่เขาอับอาย หรือต้องการปกปิดไม่ให้ใครรู้
  19. หาข่าวเรื่องดีๆ หรือ เรื่องคนที่กระทำความดีมาคุยกันบ้าง เพื่อให้จิตใจเบิกบานอย่าคุยแต่ข่าวร้าย ข่าวลือ หลอกลวง หรือข่าวที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง
  20. ไม่พูดหาเรื่องจับผิดคนอื่น ถ้าจะพูดถึงความดีของตนก็ว่าไป แต่ไม่ควรนินทาว่าร้ายคนอื่น หรือคุยว่าคนอื่นสู้ตนเองไม่ได้
  21. หาทางพูดคุยกับคนที่ไม่เคยรู้จักพูดคุยด้วย โดยการแนะนำตัวเอง หรือ หาผู้อื่นแนะนำ
  22. โทรศัพท์หรือเขียนจดหมายไปหาเพื่อน หรือคนรู้จักที่ไม่ได้ติดต่อนานเกินหนึ่งปี รวมทั้งเมื่อได้รับข่าวที่น่ายินดี หรือข่าวที่น่าเสียใจ
  23. ละเว้นการพูดคำที่ไม่ดี และไม่โกรธ โมโห อย่างน้อยหนึ่งวันต่อสัปดาห์ เช่น วันจันทร์ หรือวันศุกร์
  24. เขียนจดหมาย หรือไปเยี่ยมคนที่กำลังกลุ้มใจเสียใจ หรือประสบปัญหาชีวิต
  25. เขียนจดหมายหรือส่งบัตรแสดงความขอบคุณผู้ที่มีน้ำใจไมตรี ผู้ที่ทำคุณกับเรา
  26. เขียนจดหมาย หรือส่งบัตรแสดงความยินดีในวันคล้ายวันเกิด หรือเมื่อมีคนที่รู้จักได้ข่าวดี เช่น ได้เลื่อนตำแหน่ง ได้รับการยกย่องรางวัล
  27. เขียนจดหมาย หรือส่งบัตรแสดงความเสียใจ เมื่อคนรู้จักได้รับความเสียใจ เช่น เมื่อเจ็บป่วย หรือญาติมิตรเสียชีวิต
  28. เขียนคำชมเชยหรือมอบรางวัล แก่คนที่ให้บริการดีเป็นพิเศษ พนักงานบริการ แม่ครัว หรือยาม โดยอาจส่งผ่านไปทางผู้จัดการ เพื่อเขาจะได้นำไปประกาศชมเชย หรือให้รางวัลต่อ
  29. เขียนจดหมายชมเชยการกระทำความดีเป็นพิเศษที่ได้พบเห็นในที่สาธารณะ ผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อเป็นตัวอย่างของบุคคลอื่น แล้วส่งไปลงข่าวหนังสือพิมพ์หรือวิทยุ (เช่น วิทยุร่วมด้วยช่วยกัน หรือ จส. 100)
  30. เขียนป้ายเตือนอันตรายติดไว้ในที่เหมาะสม เพื่อมิให้ผู้อื่นเป็นอันตราย เช่น ระวังพื้นลื่น ระวังผึ้งต่อย ระวังหมาดุ ระวังไฟดูด ระวังคนล้วง-กรีดกระเป๋า
  31. ดูชื่อเพื่อนเก่าในหนังสือรุ่น หรือรูปญาติในรูปเก่าๆ แล้วเขียนจดหมาย ต่อโทรศัพท์ถึง หรือส่งบัตรอวยพรปีใหม่ ถ้าไม่ทราบที่อยู่ สามารถหาที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ได้จากคนที่รู้วิธีค้นหาจากอินเตอร์เนต (http://phonebook.tot.co.th/) หรือโทรศัพท์ถามจากองค์การโทรศัพท์ หมายเลข 1133 (กทม) หรือ 183 (ต่างจังวัด)

    ปิด
  32. ปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ ขณะที่ไม่ควรพูดโทรศัพท์ เช่น อยู่ในห้องประชุม รับแขก อยู่กับผู้ใหญ่ อยู่ในพิธีการ หรืองานศพ
  33. ปิดหรือหรี่ เสียงดัง จากวิทยุโทรทัศน์ ที่อาจไปรบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง เขาอาจไม่ชอบเพลงชนิดที่เราชอบฟังก็ได้

    ทำ

  34. เลื่อนจานอาหารไปให้คนอื่นที่เอื้อมไม่ถึง โดยไม่ต้องรอให้เขาขอร้อง
  35. หาทางปลอบใจคนที่กำลังมีความทุกข์ เช่น มีคนในครอบครัวเสียชีวิต ใช้วิธีปลอบว่า พระพุทธเจ้ายังมีปรินิพาน มนุษย์ก็ต้องมีความตายเป็นธรรมดา
  36. ทำความประหลาดใจให้แก่บางคน ด้วยการใช้ความพยายามเป็นพิเศษในการหาสิ่งของที่เขาต้องการมาก แต่เขาไม่สามารถหาได้ ด้วยวิธีปกติธรรมดา แล้วจัดส่งไปให้ เช่น ผลไม้นอกฤดูกาล ของที่ต้องการอย่างรีบด่วน ของที่ต้องสั่งทำพิเศษ หรือของที่หายาก ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด
  37. พยายามทำศัตรูให้กลายเป็นมิตร ด้วยการให้ของขวัญ การพูดคุย การเป็นเพื่อน การเห็นอกเห็นใจ การไม่เอาเปรียบ และการยอมลดราวาศอกกันบ้าง
  38. ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ทำให้ผู้รับบริการเกิดความพอใจด้วยความเต็มใจ
  39. ทำความประทับใจด้วยบริการที่เป็นพิเศษกว่าธรรมดา เช่นที่โรงแรมโอเรียลเต็ล กรุงเทพฯ นั้น พนักงานโรงแรมจะสร้างความประทับใจโดยการทักทายเรียกชื่อแขกที่มาพักทุกคนได้ และหาข้อมูลว่าลูกค้าชอบอะไรจากการสังเกตสิ่งที่เขากิน เขาใช้ในวันแรก


    ช่วยเหลือคนที่รู้จัก

  40. สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยเล่นกับลูก ช่วยน้อง หรือลูกทำการบ้าน พยายามลดงานประจำวันในวันหยุด เพื่อจะได้มีเวลาสำหรับสร้างความอบอุ่นในครอบครัว พาลูกหลานครอบครัวไปเที่ยวด้วยกันอย่างน้อยปีละครั้ง
  41. ช่วยรับคนที่รู้จักกันขึ้นรถ เมื่อจะไปทางเดียวกัน หรือจะกลับบ้านทางเดียวกัน ชวนคนข้างบ้านที่ไม่มีรถ นั่งรถไปซื้อของที่ตลาดพร้อมกัน
  42. ทักทาย แนะนำตัวทำความรู้จักกับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะผู้ที่ย้ายมาใหม่ เช่นแนะนำเรื่องรถขยะ เรื่องการเก็บค่าไฟฟ้า ประปา
  43. ส่งอาหารหรือผลไม้ไปให้เพื่อนบ้าน เป็นครั้งคราว
  44. ให้คนสวนกวาดใบไม้หน้าบ้านของเพื่อนบ้านด้วย
  45. ชวนเพื่อนบ้านและลูกของเพื่อนบ้านไปเที่ยวด้วยกันในวันหยุด
  46. รับฝากดูแลเด็กเล็กข้างบ้าน เมื่อพ่อแม่ของเด็กไม่อยู่ ชวนลูกเพื่อนบ้านที่พ่อแม่กลับบ้านดึก มาดูแลก่อนพ่อแม่กลับ ชวนมาเล่นที่บ้านเล่านิทาน ให้อ่านหนังสือการ์ตูน ทำการบ้าน (ระวังแจ้งพ่อแม่เด็กให้ทราบเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด)
  47. ให้ความสนใจกลุ่มเยาวชนในหมู่บ้าน ถ้าขาดกิจกรรมที่เล่นที่พักผ่อน ควรรวมกลุ่มชาวบ้านหารือกันกันเพื่อช่วยเหลือ ถ้าทำเองไม่ได้ควร ติดต่อกลุ่มที่สามารถช่วยได้ หรือจะเขียนจดหมายถึงอำเภอ/หนังสือพิมพ์/โทรทัศน์ หาผู้มีจิตศรัทธาช่วยเหลือ ช่วยป้องกันยาเสพติดในหมู่บ้าน
  48. ไปเยี่ยมคนแก่ที่อยู่ใกล้บ้านเดือนละครั้ง
  49. จ่ายเงินค่าอาหารหรือเครื่องดื่มให้เพื่อนร่วมงานเป็นครั้งคราว อย่าให้เขาเลี้ยงฝ่ายเดียว
  50. ช่วยคนขาดแคลน ถ้ารู้ว่าคนรู้จักคนหนึ่งขาดแคลนเงินมาก ลองใส่ธนบัตรใบละร้อย หรือห้าร้อย ส่งทางไปรษณีย์ไปให้เขา โดยไม่ต้องบอกว่าส่งมาจากใคร
  51. ตัดหนังสือพิมพ์ส่งไปให้คนรู้จัก เพราะว่ามีข่าวของเขา หรือมีเรื่องที่เขาน่าจะสนใจ
  52. ส่งอาหารเครื่องดื่ม หรือขนมไปให้เจ้าหน้าที่บริการประชาชน เช่น ตำรวจสายตรวจที่มาหน้าบ้าน พนักงานดับเพลิง บุรุษไปรษณีย์ ยามหมู่บ้าน หรือพนักงานขยะ
  53. ซื้อตั๋วดูภาพยนตร์/ดนตรี/กีฬา หรือหนังสือการ์ตูนให้เด็กข้างบ้าน
  54. เมื่อเห็นว่าของบางอย่างเหมาะสมสำหรับบางคนที่รู้จัก ควรซื้อ หรือหาไปฝากเขา
  55. ส่งหนังสือวารสารที่อ่านแล้วไปให้คนที่เราคิดว่าเขาต้องการ หรือบริจาคให้ห้องสมุดกรมการศึกษานอกโรงเรียน เพราะดีกว่าชั่งกิโลขาย
  56. . จ่ายเงินค่าสมัครสมาชิกวารสารที่เหมาะสมส่งไปให้โรงเรียนเก่า
  57. หาของฝากหรือของขวัญปีใหม่ไปให้คนที่ติดต่อประจำ เช่น แม่ค้าขายผลไม้ แม่ครัวร้านอาหาร ช่างตัดผม คนขับรถ หรือภารโรง
  58. หาของขวัญของฝากให้ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน เช่น บัตรกินอาหารฟรี บัตรลดราคา บัตรเติมน้ำมันฟรี บัตรดูละครการแสดง หรือตั๋วทัศนาจร แจกเงินหรือขนมให้ลูกของเพื่อนร่วมงานที่มารอพ่อแม่ที่ที่ทำงานหลังเลิกเรียน
  59. มอบจักรยาน ลูกฟุตบอล หรือขลุ่ย แทนพวงหรีดในงานศพ เพื่อเจ้าภาพจะได้นำไปมอบให้เด็กบ้านไกลโรงเรียนในชนบท หรือมอบผ้าไตรแทนพวงหรีดในงานศพ เพื่อเจ้าภาพจะได้นำไปถวายพระ หรือใช้ในการอุปสมบทพระใหม่
  60. ชดใช้หนี้ให้ลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงานที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือให้ยืมเงินไม่เสียดอกเบี้ย โดยหวังจะให้เขามีกำลังใจในการสู้ชีวิต และทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อไป (ระวังอย่าเป็นนายประกัน)

    ช่วยเหลือคนที่ไม่รู้จัก

  61. ช่วยทุกคนที่ประสบความยากลำบาก มีปัญหา มีความทุกข์ เช่นคนหลงทาง คนกำลังหิว คนที่กระหายน้ำ คนกำลังประสบอุบัติเหตุ
  62. ส่งเงินและสิ่งของไปช่วยคนที่ประสบสาธารณะภัย เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้
  63. บอกเตือนสิ่งผิดปกติของคนอื่น เช่น ยางรถแบน ซิปกางเกงไม่ได้รูด (เขียนใส่กระดาษไปบอก)
  64. ช่วยจับประตูที่เปิดเดินออกไปแล้ว เพื่อไม่ให้ตีคนที่กำลังตามมาข้างหลัง
  65. ช่วยชี้ทาง นำทาง ให้คนต่างถิ่นมาถามทาง หากอยู่ใกล้ๆ พอนำไปส่งได้จะวิเศษมาก
  66. ช่วยคนที่กำลังหาของที่หาย หาไม่พบ หรือเมื่อเก็บของได้ส่งคืนเจ้าของ
  67. ช่วยถือของให้คนที่หอบของพะรุงพะรัง (แต่ควรระวังอย่าถือของให้คนไม่รู้จักที่นำมาฝาก เพราะอาจมีของที่ขโมยมา หรือยาเสพติดอยู่ในถุงนั้น ทำให้ต้องตกเป็นผู้ต้องหาได้ ไม่ควรรับฝากของใครไปต่างประเทศ)
  68. ช่วยคนที่กำลังจะเอื้อมหยิบของบนชั้นสูงไม่ถึง (ระวังของตกใส่หัว หรือของหนักเกินกำลัง เวลายกของต้องใช้กำลังขา อย่างอหลัง มิฉะนั้นจะปวดหลังไปนาน เพราะกระดูกสันหลังอาจเคลื่อน หรืออักเสบ)
  69. ช่วยเข็นรถยนต์ของคนอื่นที่เครื่องเสีย ต้องหลบเข้าข้างทาง (ระวังถูกรถที่ผ่านไปมาชนเอา)
  70. หาดอกไม้หรือของไปฝากคนป่วยไม่รู้จัก ที่ไม่ค่อยมีคนเยี่ยม เมื่อไปที่โรงพยาบาล มอบกระดาษเขียนจดหมาย ปากกา และซอง พร้อมแสตมป์ให้ผู้ป่วยที่อยู่โรงพยาบาลนานๆ เพื่อเขียนจดหมายถึงญาติมิตร (ผู้ป่วยที่อยู่โรงพยาบาลนานๆ มักมีคนมาเยี่ยมน้อย)
  71. ช่วยนำคนเจ็บหรือผู้ประสบอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาล (ระวังต้องยกตัวในท่าที่ถูกต้อง มิฉะนั้น อาจทำให้เป็นอัมพาต และควรหาพยานที่จะยืนยันว่าท่านมิใช่ต้นเหตุของอุบัติเหตุไว้ด้วย)
  72. ช่วยผายปอดคนตกน้ำ (ระวังไม่ควรลงไปช่วยคนตกน้ำในน้ำ หากไม่เก่งจริง เพราะอาจถูกดึงให้จมไปด้วยกัน ควรโยนเชือกหรือวัตถุลอยน้ำให้)
  73. ช่วยแนะนำหางานให้ตกงาน (ระวังไม่ควรลงนามรับประกันความเสียหาย หรือประกันเงินกู้ให้ผู้อื่น เพราะถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ นายประกันอาจต้องตามไปชดใช้หนี้ภายหลัง)
  74. แนะนำวิธีประกอบอาชีพ หรือฝึกอาชีพให้คนที่ต้องการอาชีพ โดยอาจจัดอบรม นำวิธีทำมาหากินส่งไปให้
  75. จัดงานเชิญเด็ก คนชรา คนพิการ มาสนุกสนาน หรือไปเที่ยวในวันสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ วันเฉลิมพระชนมพรรษา หรือวันสถาปนาหน่วยงาน เดินทางไปเยี่ยมบ้านคนชราบ้านเด็กกำพร้า หรือเด็กพิการ เพื่อเลี้ยงอาหาร และนำของไปเยี่ยม เน้นผู้ที่ไม่ค่อยมีคนมาเยี่ยม ไปอ่านหนังสือให้คนแก่ฟัง เล่นดนตรี หรือเล่านิทานให้เด็กฟัง
  76. ไปเยี่ยมบ้านแรกรับเด็กอ่อน บ้านราชวิถี บ้านกรุณา บ้านมุทิตา บ้านอุเบกขา เพื่อเยี่ยมเด็กที่ขาดผู้อุปการะ หรือ เด็กที่เคยกระทำความผิดซึ่งไม่ค่อยมีคนมาเยี่ยม เพราะอีกไม่นานเขาจะได้ออกไปอยู่ร่วมกับสังคม ถ้าเขาได้น้ำใจไมตรีที่ดี อาจกลับตัวเป็นคนดีได้ (หากจะไปเยี่ยมนักโทษภายในเรือนจำ ต้องระวังถูกจับเป็นตัวประกัน)
  77. ช่วยป้องกัน หรือห้ามปราม คนที่กำลังจะทะเลาะวิวาทโกรธเคืองกัน หรือจะทำร้ายกัน แต่ต้องระวังลูกหลง (พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญคนที่ช่วยให้คนที่ทะเลาะกันกลับคืนดีได้ เหมือนที่ทรงห้ามพระญาติไม่ให้ทะเลาะกันคราวแย่งน้ำแม่น้ำโรหิณี)
  78. สนับสนุนช่วยเหลือหน่วยงานที่สร้างประโยชน์ต่อสังคม เช่นกาชาด วิทยุร่วมด้วยช่วยกัน มูลนิธิร่วมกตัญญู ลูกเสือชาวบ้าน โรตารี่ ไลออนส์ เป็นต้น
  79. จัดกลุ่มอาสาสมัครช่วยทำงานส่วนรวมนอกเหนือหน้าที่ปกติ เช่นกลุ่มฮักเมืองน่าน กองลูกเสือนอกโรงเรียนวชิรชัย ชมรมอาชีวะบำเพ็ญประโยชน์ แล้วหากิจกรรมไปทำ เช่น ไปทาสีลบรอยขีดเขียนตามกำแพง (ที่เขียนว่าใครเป็นบิดาใคร ฯลฯ) เก็บเศษแก้วของมีคมตามหาดทรายชายทะเล เพื่อป้องกันคนอื่นมาเหยียบเท้าทำให้บาดเจ็บ
  80. สนับสนุนช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เช่น บริจาคเงินหรือเวลาช่วยมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลอาสากาชาด โรงเรียนสอนคนตาบอด โรงเรียนสอนคนพิการ บ้านราชวิถี บ้านแรกรับเด็กอ่อน บ้านเมตตา กรุณา หรือรับคนตาบอดมาเป็นพนักงานโทรศัพท์

    ยอม/เสียสละ/ให้

  81. เมื่อเข้าห้องน้ำ ควรหยิบกระดาษเช็ดอ่างน้ำ หรือเช็ดที่นั่งส้วมให้สะอาดก่อนออกไป เพื่อให้คนที่มาใช้ทีหลังจะได้เข้าห้องน้ำสะอาด
  82. เมื่อเข้าคิวกดเงินจากเอทีเอ็ม จ่ายเงินตามซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือที่โรงพยาบาล ถ้าไม่รีบร้อนนัก เชิญให้คนที่รอข้างหลังที่รีบเร่งกว่าได้ใช้บริการก่อน
  83. เมื่อขับรถติดอยู่แต่ไม่รีบเร่งมากนัก โบกมือยอมให้คันหลังที่รีบเร่งกว่าแทรกเข้าหน้าไปได้ก่อน
  84. เมื่อเข้าคิวส้วม ยอมให้คนข้างหลังที่ปวดมากกว่าได้เข้าส้วมไปก่อน
  85. ออกเงินซื้ออาหาร เช่นข้าวหน้าเป็ดให้ขอทานที่หิวโซ
  86. ออกเงินให้คนที่ไม่มีเงินหยอดโทรศัพท์สาธารณะ หรือเข้าส้วมสาธารณะที่ต้องจ่ายเงิน โดยทิ้งเหรียญบาทที่เหลือไว้ในช่องทอนเงิน
  87. หาของขวัญปีใหม่ หรือของขวัญวันเกิดให้คนที่ไม่เคยได้รับอะไรเลยเมื่อปีก่อน
  88. ส่งของขวัญให้คนที่เห็นแก่ตัวไม่คิดคนอื่น โดยไม่ให้รู้ว่าใครส่งมา
  89. ให้ความเห็นใจ ปลอบใจ คนที่กำลังมีความทุกข์ กลุ้มใจหาทางออกไม่ได้
  90. บริจาคโลหิต ดวงตา อวัยวะหรือเงิน ให้สภากาชาดไทย หรือโรงพยาบาลต่างๆ และชวนให้คนอื่นบริจาคด้วย

    มีความเกรงใจ

  91. เมื่อโทรศัพท์ไปถึงใคร ควรถามว่าเขากำลังยุ่งอยู่หรือเปล่า ถ้าเขากำลังมีธุระควรถามว่า จะให้โทรกลับอีกเมื่อไหร่
  92. เมื่อมีคนโทรศัพท์มาถึงและฝากหมายเลขไว้ ควรรีบโทรกลับทันทีเมื่อสะดวก
  93. ไม่ขอหรือยืมเงิน ของรักของหวงของเพื่อน หรือ ของที่อาจทำให้เพื่อนลำบากใจ เช่น รถยนต์ หรือปืน
  94. เมื่อยืมของจากผู้ใด ต้องรีบคืนทันทีเมื่อเสร็จงาน ไม่ต้องรอให้ทวง

    น้ำใจของเด็กเล็ก


    เด็กๆ สามารถมอบน้ำใจไมตรีให้ผู้อื่นได้เหมือนกับผู้ใหญ่ได้ ตัวอย่าง เช่น
  95. ยิ้มหวาน และพูดเพราะกับทุกคน
  96. ทักทาย ไหว้ สวัสดี ผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม
  97. เก็บเสื้อผ้า และของเล่นในห้องตนให้เรียบร้อย ไม่ต้องให้คนอื่นมาตามเก็บให้ทำเตียงตนเอง กวาดห้องตนเอง
  98. รักษาความสะอาดห้องน้ำ ทิ้งขยะลงถัง ไม่ทิ้งสิ่งสกปรกลงพื้น ถนน หรือแม่น้ำลำคอลง
  99. ช่วยทำงานบ้าน เช่น ช่วยแม่ล้างจานกวาดบ้าน เช็ดสิ่งสกปรกที่พื้น ไม่ทำบ้านรก
  100. มอบน้ำใจให้ทุกคนในบ้าน เช่น ยกน้ำเย็นไปให้พ่อ แบ่งขนมให้น้อง เล่นกับน้อง ช่วยสอนน้องทำการบ้าน สอนน้องอ่านหนังสือ ช่วยน้องผูกเชือกรองเท้า ติดกระดุมเสื้อ และหวีผมให้น้อง
  101. ยอมให้พ่อดูข่าวโทรทัศน์ขณะที่ตนอยากดูการ์ตูน
  102. ร้องเพลงให้คุณย่าฟัง อ่านหนังสือพิมพ์ นวดขาให้คุณยาย
  103. เขียนจดหมายพร้อมส่งรูปถ่ายไปให้ญาติผู้ใหญ่
  104. ช่วยปลอบเพื่อนที่ร้องไห้ หรืออยู่ในภาวะเสียใจ
  105. พาเพื่อนที่ไม่สบายไปห้องพยาบาล
  106. แบ่งขนมให้เพื่อน เพื่อกินด้วยกัน ไม่กินคนเดียว
  107. ช่วยครูยกสมุดการบ้านไปห้องพักครู
  108. ตั้งใจทำตัวเป็นเด็กดีที่มีน้ำใจ
    "น้ำใจคือเอื้อเฟื้อ


    คอยช่วยเหลือเผื่อแผ่กัน

    หมั่นทำทุกทุกวัน

    ความดีนั้นน่าชมเชย"

    ที่มา : http://www.thaiparents.com/hf_108.html

"วาซาบิ"

ความรู้ดีๆๆ ที่นำมาให้อ่าน
        หลายคนคงจะเคยลองลิ้มชิมรสกับอาหารญี่ปุ่นกันบ้างแล้ว และหลายคนก็คงจะได้ลองสัมผัสกับความฉุนของเจ้า "วาซาบิ" ที่ถือว่าเป็นเครื่องปรุงอย่างหนึ่งของอาหารญี่ปุ่นกันแล้ว บางคนอาจจะหลงใหลในรสฉุนดังกล่าว บางคนอาจจะร้องยี้ แต่รู้หรือไม่คะว่า ในวาซาบิที่คุณเขี่ยให้ห่างเวลาทานอาหารญี่ปุ่นนั้น มีประโยชน์มากมาย ที่นอกจากจะช่วยทำให้โล่งจมูกและอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งแล้ว ยังอาจจะช่วยป้องกันฟันผุได้ด้วย นายฮิเดกิ มาซูดะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของบริษัท โอกาวะ ผู้ผลิตเครื่องปรุงรส ของญี่ปุ่น กล่าวว่า สารประกอบทางเคมีในวาซาบิ นอกจากทำให้วาซาบิ มีรสชาด และกลิ่นรุนแรงแล้ว ยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อจุลินทรีย์ ที่เป็น ต้นเหตุของฟันผุ โดยวาซาบิประกอบด้วย ไอโซทิโอไซยาเนตส์ ซึ่งนักวิจัยพบว่า สามารถยับยั้งการผลิตเอนไซม์ ที่มีส่วนสำคัญ ในการก่อตัวของหินปูน ก่อนหน้านี้ วาซาบิ เคยมีชื่อเสียงในเรื่องของการป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน ลดความเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็ง และป้องกันโรคหอบหืด และผลการวิจัยล่าสุด นับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบว่า วาซาบิสามารถป้องกันฟันผุได้ แต่เนื่องจากผลการวิจัยยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น นักวิจัยจึงเห็นว่า จำเป็นที่จะต้อง มีการ ศึกษาค้นคว้ากันต่อไป เพื่อยืนยันในประสิทธิภาพของเครื่องปรุงรสชนิดนี้ และหากผลการทดลองยืนยันว่า ใช้ได้ผลดีกับมนุษย์ เราอาจจะเห็นผลิตภัณฑ์ ที่มี ส่วนผสมของวาซาบิอย่างกว้างขวาง รวมทั้งในรูปของยาสีฟัน แต่อาจจะต้องมีการ ปรับปรุงรสชาติใหม่


เรามักได้ยินบ่อยๆ ว่า ให้ดื่มนมมากๆ เพื่อจะให้ได้แคลเซี่ยมมาก และทำให้ตัวสูง     ดอกเตอร์  วิลเลี่ยม เอลลิส  ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนมเนย ของประเทศสหรัฐอเมริกา  ระบุว่า มีคนไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถสันดาปโปรตีนจากนมวัวได้อย่างเหมาะสม  ความจริงก็คือ   คาซีน ( casein) เป็นโปรตีนหลักในนมวัว และเป็นสารจำเป็นในกระบวนการเผาผลาญอาหารของวัว แต่ไม่ใช่สารจำเป็นของมนุษย์  จากการศึกษาของเขา พบว่า ทั้งเด็ก และ ผู้ใหญ่ ย่อย  คาซีน ได้อย่างยากลำบาก  คาซีนปริมาณร้อยละ 50 หรือมากกว่านั้นไม่ถูกย่อยในเด็กทารก    มีโปรตีนบางส่วนเท่านั้น จะถูกย่อยได้และโปรตีนในส่วนที่ย่อยได้นี้จะเข้าสู่กระแสเลือด และรบกวนเนื้อเยื่อ เพิ่มโอกาสให้เป็นภูมิแพ้ได้    และตับจะพยายามกำจัดโปรตีนที่ถูกย่อย นี้ออกไป ซึ่งผลกระทบหลักที่นมมีต่อร่างกายคือ จะก่อให้เกิดก้อนมูกที่ทำให้ภายในลำไส้เล็กแข็งตัวอุดตัน   ดังนั้นการ   ดื่มนมมากๆ นอกจะไม่ได้ปริมาณแคลเซี่ยมมากตามที่ต้องการแล้ว   ยังเป็นการเพิ่มภาระให้กับระบบการขับถ่ายของร่างกายอีกด้วย   โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้แก่ตับ เขา กล่าวว่า ในการตรวจเลือดคนจำนวน 25,000 คน ทีดื่มนม  3-5 แก้วต่อวัน  กลับมีแคลเซี่ยมในเลือดที่ต่ำมาก


ที่มา : http://atcloud.com/stories/54247